วันอาทิตย์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2555


การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศนำเสนอผลงาน 

1.1 วัตถุประสงค์ของการนำเสนองานคือ การนำเสนองาน (Presentation) เป็นทักษะที่มีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับพนักงานทุกๆระดับในองค์กร เช่น พนักงานขายในบริษัทบางแห่ง ต้องใช้ทักษะการนำเสนองานอยู่เสมอในระหว่างขั้นตอนการขาย ไม่ว่าจะเป็นการนำเสนองานเพื่อแนะนำองค์กร เพื่อนำเสนอคุณลักษณะและคุณประโยชน์ของสินค้าและบริการ รวมไปถึงการสาธิตวิธีการใช้งาน นอกจากนั้น การนำเสนองานยังนำมาใช้ภายในองค์กร เพื่อแจ้งข้อมูลข่าวสาร หรือ ขอความร่วมมือในโครงการต่างๆ
การนำเสนองานที่ประสบความสำเร็จนั้น
เกิดขึ้นจากองค์ประกอบ 3 ประการด้วยกัน 
 1) การกำหนดวัตถุประสงค์และวิเคราะห์ผู้ฟัง
 2)
การวางโครงสร้างเนื้อหาการนำเสนอ
 3)
วิธีการนำเสนอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของการวิเคราะห์ผู้ฟัง ซึ่งหมายถึง การวิเคราะห์ความต้องการ ความสนใจ หรือความกังวลใจของผู้ฟัง รวมถึงความเข้าใจในสไตล์ ความชอบของผู้ฟัง เพื่อให้สามารถออกแบบโครงสร้างและเนื้อหาการนำเสนอที่มีความเหมาะสม สอดคล้องและโดนใจผู้ฟัง
การนำเสนอผลงาน มี 2 รูปแบบ
1.             การบรรยายสด เหมาะสำหรับประชุมหรือสัมมนาที่ต้องการให้มีผู้ชมมีส่วนร่วม ผู้บรรยายสามารถปรับบรรยากาศให้เหมาะสมกับความรู้สึกของผู้ชมในขณะนั้นได้
2.             การพากย์ เหมาะสำหรับเนื้อหาที่ถ่ายทอดได้โดยไม่ต้องอาศัยการมีส่วนรวมของผู้ชม สามารถเลือกใช้เสียงพากย์ที่มีความไพเราะน่าฟังแต่ไม่สามารถปรับบรรยากาศให้เหมาะสมกับความรู้สึกของผู้ชมในขณะนั้น
รูปแบบการนำเสนอ ปัจจุบันมี 3 รูปแบบ 
1.การนำเสนอแบบ Slide Presentation มี 3 รูปแบบ

              1.1โดยใช้โปรแกรม PowerPoint  เป็นโปรเเกรมในการนําเสนอได้ในหลายรูปเเบบ  ไม่ว่าจะเป็นนําเสนอ เเบบเป็นอักษร ภาพ หรือเสียง โดยตัวโปรเเกรมนั้นสามารถนําสื่อเหล่านี้มาผสมผสานได้ อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด     ลักษณะการของโปรเเกรม Power Point      การทํางานในรูปของภาพนิ่ง (slide) คือเเผ่นเอกสารเดี่ยวๆที่เเสดงสิ่งต่าง ๆ ตัวอักษร กราฟตาราง รูปภาพ หรืออื่นๆ เเละสามารถเเสดงไลด์ลงบนแผ่นกระดาษหรือเครื่องฉานข้ามศีรษะ   หรือหน้าจอคอมพิวเตอร์  หรือเครื่องฉาย
1.2โดยใช้โปรแกรม ProShow Gold  คือ โปรแกรมสำหรับเรียงลำดับภาพเพื่อนำเสนอแบบมัลติมีเดีย ที่มีความสามารถสร้างผลงานได้ในระดับมืออาชีพ ด้วยเทคนิคพิเศษมากมาย ใช้งานง่าย เหมาะสมต่อการนำเสนอสื่อ การเรียนการสอน การแนะนำอัตชีวประวัติ สามารถเขียนชิ้นงานออกมาในรูปแบบของวีซีดีได้อย่างรวดเร็ว เป็นโปรแกรมที่ช่วยสร้างแผ่นวีซีดีจากรูปภาพต่าง ๆ ที่ทำงานได้รวดเร็ว โดยสามารถทำการใส่เสียงเพลงประกอบได้ด้วย และสามารถแปลงไฟล์เป็นไฟล์ต่าง ๆ ได้ เช่น VCD ,DVD หรือ EXE ฯลฯ ภาพที่ได้จัดอยู่ในคุณภาพดี ซึ่งโปรแกรมอื่นจะใช้เวลาในการทำงานนานพอสมควร
                1.3โปรแกรม Flip Album เป็นโปรแกรมลักษณะโปรแกรมสำเร็จรูปโดยโปรแกรมที่นิยมสร้างอีบุ๊คหรือ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ มีความสามารถมากมาย คือ มีการชื่อมโยงกับหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เล่มอื่นๆได้และมีบราวเซอร์ที่ทำหน้าที่ดึงข้อมูลมาแสดงให้ตามที่ต้องการเหมือนอินเตอร์เน็ตทั่วไป หนังสืออิเล็กทรอนิกส์สามารถแสดงข้อความ รูปภาพ เสียง ภาพเคลื่อนไหวและแบบทดสอบและสามารถสั่งพิมพ์เอกสารที่ต้องการออกทางเครื่องพิมพ์ได้และสามารถปรับปรุงข้อมูลให้ทันสมัยได้ตลอดเวลา


หลักการขั้นตอนขั้นพื้นฐานของการนำเสนอผลงาน


มีจุดเน้นสำคัญคือ..........
.......1. การดึงดูดความสนใจ การออกแบบให้สิ่งที่ปรากฏต่อสายตานั้นน่าชวนมอง และมีความสบายตาสบายใจเมื่อมอง
.......2. ความชัดเจนและความกระชับของเนื้อหา เนื้อหาต้องสั้นแต่ได้ใจความชัดเจน ส่วนของที่เป็นรูปภาพที่ประกอบต้องมีส่วนสัมผัสอย่างสร้างสรรค์กับข้อความ
.......3. ความเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย การสร้างจุดเน้นต้องคำนึงถึงกลุ่มเป้าหมาย เช่น เด็ก ก็ต้องมีสีสดใส รู้การ์ตูนประกอบ เป็นต้น


เครื่องมือที่ใช้ในการนำเสนอผลงาน


.......ก่อนยุคคอมพิวเตอร์ เครื่องที่นำเสนอผลงานก็คือ
ฉายไสด์ และเครื่องฉายแผ่นใส เมื่อมาถึงยุคคอมพิวเตอร์ เครื่องมือที่ใช้ก็เปลี่ยนไป เครื่องมือหลัก คือเครื่องคอมพิวเตอร์และเครื่องฉายภาพจากคอมพิวเตอร์
ส่วนที่ขาดมิได้ในการนำเสนอผลงานคือ คำบรรยายหรือบทพากย์ องค์ประกอบก็มี
--------1.การบรรยายสด เหมาะสำหรับการประชุมหรือสัมมนาที่ต้องการให้ผู้ชมมีส่วนร่วม เพราะผู้บรรยายในกรณีนี้เป็นผู้ที่รู้เรื่องราวเกี่ยวกับเนื้อหาเป็นอย่างดีรู้ว่าควรจะเน้นตรงจุดใดและปฏิกิริยาจากผู้ชมทำให้ผู้บรรยายรู้ว่าผู้ชมสามารถติดตามทำความเข้าใจได้เพียงพอหรือไม่รู้ว่าส่วนไหนจะต้องอธิบายขยายความมากน้อยเพียงใด

--------2.การพากย์ เหมาะสำหรับเนื้อหาที่สามารถถ่ายทอดได้โดยไม่ต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของผู้ชม ข้อดีคือสามารถเลือกใช้เสียงพากย์ที่มีความไพเราะน่าฟัง สามารถเลือกใช้ดนตรี หรือเสียงประกอบ (Sound effect) เพื่อสร้างบรรยากาศ แต่ข้อเสียคือไม่มีความยืดหยุ่น ไม่สามารถปรับให้เหมาะสมกับความรู้สึกของผู้ชมในขณะนั้น

อ้างอิง http://noina-haha-8.blogspot.com/2012/01/blog-post_17.html